พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ (Pembroke Welsh Corgi) – ข้อมูลสายพันธ์ุ, ลักษณะนิสัย, วิธีการเลี้ยงดู

พ็อมโบรค เวลช์ คอร์กี้ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อสั้นๆว่า คอร์กี้ หมาน้อยขาสั้นเจ้าเสน่ห์ ด้วยตัวของน้องที่มีขนาดเล็ก ขนปุย ตาแป๋วน่ารัก ใครเห็นแล้วก็ต้องเอ็นดูเป็นธรรมดา วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับความน่ารักของเจ้าคอร์กี้ ว่ามีนิสัยอย่างไร ต้นกำเนิดมาจากไหน รวมถึงวิธีการลี้ยงและดูแลเจ้าคอร์กี้ให้แข็งแรง สุขภาพดี 

สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจรับน้องไปเลี้ยงเป็นเพื่อนคลายเหงา NongPets  ขอรับประกันว่า หลังจากที่คุณได้อ่านบทความนี้แล้ว คุณจะตกหลุมรักเสน่ห์ของเจ้าตูบน้อยแน่นอน

ต้นกำเนิดของพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้

ต้นกำเนิดของพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ มีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็เชื่อว่า มีการพัฒนาสายพันธุ์ในเวล์ช (Wales) ในเขตพ็อมโบรคชาร์ย(Pembrokeshire) โดยพัฒนามาจากสายพันธุ์คาร์ดิแกน เวลช์ คอร์กี้ (Cardigan Welsh Corgi) ซึ่งเป็นสายพันธุ์คอร์กี้ที่เก่าแก่ และก็เป็นที่มาของชื่อสายพันธุ์พ็อมโบรคนั่นเอง

และยังมีอีกสมมติฐาน ที่เชื่อกันว่า บรรพบุรุษของพ็อมโบรคมากจาก Swedish Valhunds ซึ่งถูกเข้ามาในเวลส์โดยชาวไวกิ้ง มนุษย์จะใช้คอร์กี้ต้อนฝูงสัตว์เลี้ยงในฟาร์มปศุสัตว์ ถึงคอร์กี้จะตัวเล็ก แต่ก็มีความคล่องแคล่ว ว่องไว สามารถไล่ขบสัตว์ใหญ่อย่าง วัว แกะ และม้าได้ 

ตำนานของพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้

มีตำนาที่เล่าขานกันว่า พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ เป็นสัตว์เลี้ยงของนางฟ้าและภูตปีศาจ ครั้งหนึ่ง มีเด็กสองคนได้ออกไปวิ่งเล่นในทุ่งหญ้า ระหว่างทางกลับบ้านนั้น เด็กทั้งสองได้เจอลูกหมาป่า 2 ตัว พวกเขาจึงพาพวกมันกลับบ้าน หลังจากที่พ่อแม่ของเด็กทั้งสองได้เห็นลูกหมาป่าแล้ว ก็รู้ทันทีว่าเป็นสุนัข ไม่ใช่หมาป่า พวกเขาจึงบอกกับลูกๆว่า ลูกสุนัขทั้งสองตัวนี้คือของขวัญจากนางฟ้าที่อยู่ในทุ่งหญ้า ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงยานพาหนะคู่ใจที่นางฟ้าใช้ขี่เมื่อตอนทำสงคราม เด็กทั้งสองได้ยินแล้วก็ปลาบปลื้ม และยินดีรับเลี้ยงลูกสุนัขทั้งสองจนเติบโต เป็นเพื่อนเล่นและช่วยดูแลฟาร์มให้กับครอบครัวนี้ด้วย

ลักษณะของพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้

ลักษณะทางกายภาพ

  • น้ำหนัก:  เพศผู้ 11-12 กิโลกรัม, เพศเมีย 10-12 กิโลกรม
  • ความสูง: เพศผู้ 30 เซนติเมตร, เพศเมีย 25 เซนติเมตร
  • สายพันธ์: Herding pets 
  • ขน: มีลักษณะสั้น หนา สองชั้น บางตัวขนหนาปกปุย
  • สีขน: สีแดง, น้ำตาลเข้มออกแดง (sable), เทาแกมเหลือง (fawn) หรือจะผสมกันทั้งสามสี (แดง, ดำ, น้ำตาลเข้ม) และปกติจะมีสีขาวปนอยู่ในช่วงของขา, หน้าอก, คอ, บริเวณปาก และหน้าท้อง
  • ลักษณะเด่น: ขาสั้น หลังยาว หูตั้ง บางตัวอาจมีรูปทรงสีขาวคล้ายเปลวไฟแทรกอยู่ตรงหว่างตาและหน้าผาก
  • ช่วงชีวิต: มีอายุประมาณ 12-14 ปี

นิสัยและพฤติกรรมทั่วไป

แม้ว่าเจ้าคอร์กี้จะเป็นหมาที่ใช้เลี้ยงในฟาร์มในสมัยก่อน แต่ในปัจจุบันเจ้าคอร์กี้ก็เป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมสำหรับครอบครัว และน้องคอร์กี้ก็ขึ้นชื่อในเรื่องของความสดใส ร่าเริง รักเจ้าของ แถมยังฉลาดแสนรู้อีกด้วย

คอร์กี้ยังเป็นน้องหมาที่ดื้อมาก และมีความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ชอบสุงสิงกับคนไม่รู้จัก เจ้าของควรพาน้องออกสังคมตั้งแต่เด็กๆ พาไปพบปะผู้คนและสัตว์เลี้ยงอื่นๆบ้าง เพื่อลดนิสัยก้าวร้าว เวลาเจอคนแปลกหน้า

เรื่องการฝึก น้องคอร์กี้เป็นน้องหมาที่ฝึกง่าย ถึงแม้น้องจะชอบประจบเอาใจ ยอมทำตามคำสั่งผู้เลี้ยง แต่อย่าบังคับหรือใช้วิธีความรุนแรงในการฝึกน้อง เพราะคอร์กี้เป็นสัตว์ที่ชอบคิดด้วยตัวเอง หากว่าเราบังคับหรือขู่น้อง น้องก็อาจจะต่อต้าน และมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวได้ การฝึกก็อาจจะให้ขนมเป็นรางวัลเป็นบางครั้ง เพราะน้องชอบอาหารมาก แต่อย่าให้น้องกินมากไป เพราะน้องเป็นหมาที่อ้วนง่าย

เจ้าคอร์กี้ยังเป็นหมาเฝ้าบ้านที่ดีด้วย เพราะ เวลาน้องเจอคนแปลกหน้า หรือรู้สึกว่าจะมีคนมาทำอันตรายในบ้าน น้องก็จะเห่า หอนส่งเสียงทันที แถมบางทีน้องอาจเห่านานจนแสบแก้วหูรบกวนข้างบ้านเลยล่ะ เห็นตัวเล็กแบบนี้ แต่พลังของน้องสูงปรี๊ด

วิธีการเลี้ยงและดูแลพ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ให้แข็งแรง และสุขภาพดี

คอร์กี้เป็นหมาฉลาดและเลี้ยงง่าย ผู้เลี้ยงต้องหมั่นใส่ใจดูแลน้องทั้งเรื่องคุณภาพของอาหาร และกิจวัตรในชีวิตประจำวันของน้อง และ NongPets จะมาแนะนำวิธีการเลี้ยงดู รวมไปถึงเรื่องสุขภาพ เพื่อให้เจ้าหมาน้อยของเรามีสุขภาพที่แข็งแรง และเจริญเติบโตเต็มวัย

วิธีการเลี้ยงดู

เนื่องจากคอร์กี้เป็นสายพันธุ์ที่ใช้คุมสัตว์ในฟาร์ม เพราะฉะนั้นน้องเป็นสัตว์ที่  พลังงานสูงมาก น้องมีความ active ตลอดเวลา เจ้าของควรพาน้องออกกำลังกายทุกวัน และใครที่อยู่ในอาพาร์ทเมนต์ไม่ต้องห่วงว่าจะสามารถเลี้ยงน้องได้หรือไม่ ตราบใดที่ในอาพาร์ทเมนต์มีที่ให้น้องวิ่งเล่น หรือมีพื้นที่ให้น้องสามารถทำกิจกกรมได้  แต่ต้องระวังไม่ให้น้องกระโดดในที่สูงจนเกินไป เพราะโครงสร้างของน้องมีลักษณะขาสั้น และหลังยาว อาจทำให้น้องได้รับอาการบาดเจ็บได้

เจ้าคอร์กี้ยังเป็นหมาที่ติดเจ้าของ และรักครอบครัวมาก น้องมีนิสัยขี้ประจบ ชอบเอาอกเอาใจเจ้าของ หากว่าทิ้งให้น้องอยู่คนเดียว น้องอาจมีการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ทำลายข้าวของ เห่า หอนเสียงดัง 

ด้วยความที่น้องเป็นหมาขี้ประจบ ดังนั้นน้องจะมีนิสัยเรียกร้องความสนใจเป็นพิเศษ บางทีอาจมีพฤติกรรมแปลกๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น กัดแทะสิ่งของ เห่าแบบไม่มีเหตุผล หรือเดินมาป้วนเปี้ยนที่ขา แต่เจ้าของสามารถฝึกน้องได้โดยการพาน้องออกไปข้างนอก ให้น้องรู้สึกว่าน้องได้รับความสนใจจากผู้คน หมั่นให้คำชมน้องบ่อยๆ น้องจะชอบมากๆและมีความรู้สึกผูกพันธ์กับผู้เลี้ยงมากขึ้น 

อาหารของคอร์กี้

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เจ้าคอร์กี้ชอบกินมาก ฉะนั้นเจ้าของควรจะใส่ใจกับคุณภาพอาหารของน้อง และให้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยปริมาณอาหารนั้นก็ยังขึ้นอยู่กับขนาด, อายุ, ปริมาณการเผาผลาญ และกิจกกรรมในแต่ละวัน
ปริมาณอาหารที่แนะนำ: ควรให้อาหารเม็ดปริมาณ ¾ – 1.5 ถ้วยตวง วันละสองมื้อ 

หากน้องมีรูปร่างและน้ำหนักที่มากเกินไป เจ้าของควรควบคุมอาหารน้องด้วยการชั่งตวงอาหารแล้วให้อาหารเป็นมื้อ แทนการปล่อยอาหารไว้ในถ้วยทั้งวัน วิธีสังเกตว่าน้องอ้วนขึ้นหรือไม่ ดูได้จาก เราจะสามารถเห็นเอวของน้องได้ และทดสอบโดยใช้นิ้วมือคลำที่กระดูกสันหลังของน้องเบาๆ ถ้าเราคลำหากระดูกสันหลังไม่เจอ แสดงว่าน้องอ้วนขึ้น ต้องลดน้ำหนักน้องโดยด่วน เพราะอาจมีปัญหาสุขภาพตามมาได้ 

วิธีดูแลรักษาคอร์กี้

การดูแลรักษาความสะอาด

ควรอาบน้ำจะอาบเมื่อตอนจำเป็นเท่านั้น แต่หการอาบน้ำให้น้องทุกวัน จะช่วยป้องกันขนร่วงได้ด้วย

การรักษาความสะอาดในช่องปาก ควรแปรงฟันให้น้องอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อเป้นการกำจัดหินปูน และแบคทีเรียในช่องปาก การแปรงฟันให้น้องทุกวันก็จะสามารถป้องกันโรคเหงือก และกลิ่นปากได้

การตัดแต่งเล็บ ควรตัดเล็บให้น้องเดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บและปัญหาอื่นๆที่ตามมา

การดูแลรักษาขนของคอร์กี้

ขนของเจ้าคอร์กี้มีสองชั้น ชั้นในหนา ชั้นนอกยาว การดูแลรักษาขนของกี้นั่นง่ายมาก แต่ขนน้องมักจะร่วงบ่อย โดยเฉพาะฤดูขนร่วงที่เกิดขึ้นอย่างน้อยสองครั้งต่อปี ดังนั้นเจ้าของควรแปรงขนให้น้องทุกวัน เพื่อเอาขนที่ตายแล้วออกไป 

สุขภาพของคอร์กี้

โดยทั่วไป คอร์กี้จะเป็นหมาที่สุขภาพดี แข็งแรง ไม่ค่อยป่วยเป็นโรค แต่ผู้เลี้ยงควรทำการศึกษาโรคต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคเหล่านี้เกิดขึ้นกับน้อง และเพื่อทำความมั่นใจว่าน้องหมาของเรามีสุขภาพดี ให้เช็คตอนที่จะรับซื้อน้องหมามาเลี้ยง ให้ดูประวัติพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ว่ามีโรคต่างๆเกิดขึ้นกับพวกเขาหรือไม่ โดยโรคที่อาจเกิดกับคอร์กี้ มีดังนี้

  • Hip Dysplasia โรคข้อสะโพกเสื่อมในสุนัข
  • Cataracts โรคต้อกระจกในสุนัข
  • Cutaneous Asthenia โรคหนังยืดผิดปกติในสุนัข เคือภาวะข้อต่อหลวม ผิวบางและยืดมากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการฟกช้ำหรือบาดเจ็บได้ง่าย
  • Cystinuria โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะในสุนัข
  • Degenerative Myelopathy โรคที่เกิดจากความผิดปกติของไขสันหลัง 
  • Epilepsy โรคลมชัก
  • Intervertebral Disk Disease โรคหมอนรองกระดูกสันหลังในสุนัข
  • Progressive Retinal Atrophy (PRA) โรคจอประสาทตาเสื่อมในสุนัข
  • Retinal Dysplasia ภาวะจอตาเจริญผิดปกติ
  • Von Willebrand’s Disease ความผิดปกติของเลือดในสุนัข

พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้กับเด็กและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

คอร์กี้เป็นหมาที่เป็นมิตรกับเด็กๆ แต่น้องก็ไม่ค่อยชอบเด็กทารกแปลกหน้าซักเท่าไหร่ เวลาน้องเจอเด็กตัวเล็กๆ น้องอาจจะกระโจนเข้าหา แง้มปากงับเท้าเด็กเล่น ตามสัญชาติญาณการต้อนสัตว์ของน้อง และหากครอบครัวไหนมีเด็ก ก็ควรจะสอนให้เด็กๆ เข้าหาสุนัขอย่างถูกต้อง ไม่ควรให้พวกเขาดึงหู หาง หรือส่วนอื่นของลำตัว และไม่ควรเข้าหาตอนที่น้องหลับ หรือกินอยู่ เพราะน้องอาจโกรธ และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโดยการกัดได้
น้องคอร์กี้สามารถเข้าได้ดีกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ตราบใดที่น้องเข้าสังคม และพบปะผู้คนแปลกหน้าบ่อยๆ

พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้และ คาร์ดิแกนเวลช์คอร์กี้แตกต่างกันอย่างไร

คอร์กี้ทั้งสองสายพันธ์ุนี้มีลักษณะที่คล้ายกันมากๆ วิธีแยกง่ายๆก็คือ ให้ดูที่หาง ซึ่งพ็อมโบรคจะมีหางที่สั้นกุด หรือถูกตัดหาง ส่วนคาร์ดิแกนจะมีหางยาว หางจะไม่ถูกตัด และคาร์ดิแกนจะมีขนาดใหญ่กว่าพ็อมโบรคเล็กน้อย 

ได้รู้จักความน่ารักของเจ้าหมาน้อยคอร์กี้กันไปแล้ว ถึงน้องจะมีพฤติกรรมที่น่าปวดหัวอยู่บ้าง แต่น้องก็เป็นหมาที่ฉลาด เป็นมิตร และซื่อสัตย์กับครอบครัว ถ้าหากว่าเราหมั่นดูแลเอาใจใส่น้อง น้องก็จะเป็นเพื่อนที่ดี และเพื่อนคลายเหงาของเราตลอดไป 

Leave a Reply

Your email address will not be published.

Show Buttons
Hide Buttons