ซามอยด์ (Samoyed) – ข้อมูลสายพันธ์ุ, ลักษณะนิสัย, วิธีการเลี้ยงดู

ซามอยด์เจ้าหมาตัวใหญ่สีขาวขนปุย ผู้มาพร้อมกับรอยยิ้มอันน่ารักสดใสร่าเริง มีความเป็นมิตร และสร้างรอยยิ้มให้กับผู้คนรอบข้างได้เสมอ  น้องซามอยด์ไม่ได้มีแค่ความน่ารักเท่านั้น น้องยังมีความสามารถหลายอย่าง และมาพร้อมกับความเฉลียวฉลาด จึงเป็นสุนัขที่ได้รับความนิยมมากสายพันธุ์หนึ่ง 

ใครที่อยากทำความรู้จักกับน้องซามอยด์ให้มากขึ้น NongPets จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเจ้าหมาขนฟูตัวนี้ ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมาของน้อง ลักษณะนิสัยและวิธีการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเป็นอย่างไร รวมไปถึงการดูแลสุขลักษณะอนามัยของน้องซามอยด์

ต้นกำเนิดของซามอยด์

ต้นกำเนิดชื่อซามอยด์นั้นได้มาจาก กลุ่มชนร่อนเร่จากทวีปเอเชียที่เดินทางอพยพมายังประเทศไซบีเรีย ซึ่งชนกลุ่มนี้จะเลี้ยงซามอยด์เพื่อใช้งานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ล่าสัตว์, ต้อนกวางเรนเดียร์, ใช้ลากเลื่อน หรือแม้กระทั้ง เอาไว้กอดเพื่อความอบอุ่นในค่ำคืนที่หนาวเย็น นอกจากพาละกำลังที่แข็งแร็งแล้ว ซามอยด์ยังมีสัยที่เป็นมิตร จึงทำให้ซามอยด์เป็นสุนัขเลี้ยงที่นิยมของคนในยุคนั้น

ผู้ที่ค้นพบสายพันธุ์ซามอยด์คนแรก เป็นชาวอาร์กติกในทวีปชั้วโลกเหนือ เขาเห็นว่าซามอยด์มีความอดทน และแข็งแรง สามารถฝ่าฝันการเดินทางที่ยากลำบากในขั้วโลกเหนือได้ และในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ซามอยด์ได้ถูกนำเข้าไปยังประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรกในสมัย Queen Alexandra ทำให้ซามอยด์เป็นที่ชื่นชอบในหมู่ราชวงศ์และชนชั้นสูงเป็นอย่างมาก

ในปี 1906 ซามอยด์ได้ถูกนำเข้าในประเทศอเมริกาเป็นครั้งแรก และยังได้ขึ้นทะเบียนของ the American Kennel Club (AKC) ซึ่งในช่วงนั้น ซามอยด์เป็นที่นิยมสำหรับกีฬาสุนัขลากเลื่อนผ่านน้ำแข็งในทวีปอเมริกาเหนืออีกด้วย

ลักษณะของซามอยด์

ลักษณะทางกายภาพ

  • น้ำหนัก:  เพศผู้ 20 – 25 กิโลกรัม เพศเมีย 16 – 23 กิโลกรัม
  • ความสูง: เพศผู้ 53 – 60 เซนติเมตร, เพศเมีย 48 – 53 เซนติเมตร
  • สายพันธ์ุ: Working dog
  • ขน: ขนชั้นนอกมีลักษณะตรง ขนชั้นในจะหนานุ่ม 
  • สีขน: สีขาว, สีีครีม
  • ลักษณะเด่น: ขนสีขาวปุยนุ่มเหมือนหิมะปกคลุมทั้งตัว และมีหน้ายิ้มเป็นเอกลักษณ์
  • ช่วงชีวิต: มีอายุประมาณ 12-14 ปี

นิสัยและพฤติกรรมทั่วไป

ความน่ารักของเจ้าซามอยด์ไม่ได้มีเพียงแค่หน้าตาอย่างเดียวเท่านั้น น้องซามอยด์เป็นสุนัขที่เฉลียวฉลาด มีนิสัยเป็นมิตรและอ่อนโยน ด้วยนิสัยที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้ซามอยด์เป็นที่รักใคร่ของทุกคนในครอบครัว 

น้องซามอยด์ไม่ชอบให้ทอดทิ้งอยู่คนเดียว น้องชอบมีส่วนร่วมกับคนที่น้องรัก และต้องการความเอาใจใส่จากผู้เลี้ยงมากๆ หากว่าน้องถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง น้องอาจหงอยและซึมไปเลย นอกจากนี้ น้องยังมีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ทำให้น้องเป็นสุนัขเฝ้าบ้านที่ดีเลยล่ะ

และด้วยสัญชาตญาณของบรรพบุรุษนักล่าที่ยังมีอยู่ในตัวน้อง น้องจะชอบวิ่งไล่จับสัตว์เหยื่อตัวเล็กๆ ดังนั้นเวลาพาน้องออกไปข้างนอก ผู้เลี้ยงควรใช้สายจูงน้องไว้ เพื่อไม่ให้น้องเถลไถล ะเพื่อเป็นความปลอดภัยต่อผู้อื่นและตัวน้องเอง

วิธีการเลี้ยงและดูแลซามอยด์

วิธีการเลี้ยงดู

น้องซามอยด์มีขนหนาสองชั้น น้องจึงเหมาะอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็น น้องจะไม่ทนอากาศร้อนสักเท่าไหร่ ยิ่งสภาพอากาศบ้านเราที่ร้อนระอุ เราควรให้น้องอยู่ในห้องที่มีพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ และไม่ควรปล่อยให้น้องไปวิ่งเล่นในที่แดดจัดๆ แนะนำถ้าหากพาน้องไปวิ่งเล่นออกกำลังกาย ควรเลือกช่วงเวลาเช้า หรือตอนเย็นก็จะดีกว่า 

น้องซามอยด์ไม่เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่จำกัดอย่างเช่น คอนโดและอาพาร์ทเมนต์ เพราะน้องต้องการพื้นที่ในการออกกำลังกาย และวิ่งเล่น การพาน้องออกไปเดินเล่นข้างนอก เพราะน้องเป็นสุนัขที่ต้องออกกำลังกาย และจะช่วยให้น้องกระปรี้กระเปร่า มีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมในแต่ละวัน

ในการฝึกน้องซามอยด์นั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะน้องเป็นหมาที่ฉลาด อีกอย่างน้องชอบทำกิจกรรมร่วมกับเจ้าของอยู่แล้ว และชอบประจบเอาใจเจ้าของ เพราะฉะนั้นหากเราสั่งให้น้องทำอะไร น้องจะทำตามแบบไม่ลังเล 

อาหารของซามอยด์

น้องซามอยด์สามารถกินได้ทั้งอาหารสำเร็จรูป และอาหารปรุงสุก และเพื่อเป็นการบำรุงให้ซามอยด์มีสุขภาพแข็งแรง เราควรเลือกอาหารให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย โดยอาหารที่แนะนำ มีดังนี้

ซามอยด์วัยเด็ก: ช่วงนี้เป็นวัยเจริญเติบโต น้องต้องการโปรตีนเป็นอย่างมาก ปริมาณอาหารที่แนะนำคือ อาหารเม็ดครึ่งถ้วย แนะนำให้ผสมกับน้ำอุ่นเพื่อให้น้องเคี้ยวง่ายขึ้น

ซามอยด์วัยผู้ใหญ่: ช่วงวัยนี้ยังคงต้องการอาหารที่มีโปรตีนเป็นหลัก การให้อาหารควรพิจารณาจากกิจกกรรมในแต่ละวัน น้ำหนัก และระบบเผาผลาญของน้อง

ซามอยด์วัยชรา: ในวัยนี้ความแข็งแรง และระบบเผาผลาญลดลง น้องจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวมากนัก เพราะฉะนั้นน้องไม่ต้องการโปรตีน และปริมาณอาหารในจำนวนมาก 

วิธีดูแลรักษาซามอยด์

  • การดูแลรักษาขน

ขนของน้องซามอยด์มีลักษณะหนาฟู ทำให้ขนร่วงเยอะมาก ฉะนั้นเราควรใส่ใจเรื่องขนเป็นพิเศษ น้องมีขนที่หนาสองชั้น มักจะมีสิ่งสกปรกและเศษต่างๆเกาะติดตามขน ทำให้ขนพันกันเป็นก้อน แนะนำให้แปรงขนน้องเป็นประจำ 

  • การดูแลรักษาความสะอาด

การอาบน้ำให้น้องแต่ละครั้ง ผู้เลี้ยงควรมีเวลาเผื่อไว้ เพราะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน ด้วยตัวน้องเองมีขนที่หนา ผู้เลี้ยงต้องล้างตัวน้องให้สะอาดหมดจด ไม่มีคราบแชมพูเหลืออยู่ และต้องเป่าขนน้องให้แห้งเพื่อความสะอาดและสวยงาม แนะนำให้อาบครั้งละสองเดือน หรืออาบน้ำให้น้อง ถ้าหากน้องตัวสกปรกมาก หรือถ้าใครไม่อยากเสียเวลา แนะนำพาน้องไปอาบที่ร้านตัดแต่งขนสุนัขจะดีกว่า

สุขภาพของซามอยด์

โรคที่อาจเกิดกับน้องซามอยด์มีดังนี้

  1. Samoyed Hereditary Glomerulopathy : โรคไตที่ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมของสุนัขพันธุ์ซามอยด์
  2. Progressive Retinal Atrophy (RTA): โรคจอประสาทตาเสื่อม
  3. Hip dysplasia: โรคข้อสะโพกเสื่อม
  4. Glaucoma: โรคต้อหิน
  5. Diabetes Mellitus : โรคเบาหวาน
  6. Subvalvular Aortic Stenosis: ภาวะหลอดเลือดตีบตันส่วนล่างของเอออร์ตาในสุนัข
  7. Hypothyroidism: โรคไฮโปไทรอยด์

ซามอยด์กับเด็กและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า น้องซามอยด์จะผูกพันธ์กับครอบครัวมากๆ ยิ่งถ้าครอบครัวไหนมีเด็กอีกละก็ น้องจะเข้าได้ดีกับเด็กสุดๆ แต่เราควรจะระวัง ถ้าเรามีเด็กอายุน้อยแบเบาะ ด้วยขนาดและแรงของน้องค่อนข้างเยอะพอสมควร น้องอาจจะเผลอไปทำอันตรายกับเด็กเล็กได้ 

นอกจากนี้ น้องซามอยด์ชอบเป็นที่สนใจในสังคม และสนุกสนานเมื่อได้เข้าสังคมกับสุนัขตัวอื่นๆ ถ้าหากน้องได้รับการฝึกการเข้าสังคม และรู้จักปฏิบัติต่อเพื่อนๆในสังคมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสัตว์ตัวที่เล็กกว่า

Leave a Reply

Your email address will not be published.

Show Buttons
Hide Buttons